ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
หน้าแรก
»
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
»
คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง
» ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์

ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์
จัดตั้งเพื่อการดูแลสุขภาพของคนทำงาน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน ตรวจรักษาโดยทีมแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ แพทย์สหสาขาและทีมพยาบาลอาชีวเวชอนามัย ที่มีประสบการณ์เน้นการวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายผู้ป่วย วิเคราะห์ผลโดยด้วยห้องปฏิบัติการพร้อมด้วยเครื่องมือตรวจรักษาที่ทันสมัยได้มาตรฐาน HA และ JCI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการป้องกัน การรักษา การฟื้นฟู และส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษายังแพทย์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากโรคที่เกิดจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ การแพทย์แขนงนี้จึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก
ให้บริการดูแลรักษาสุขภาพ
- ออกแบบโปรแกรมการตรวจสุขภาพและ ตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน
- รักษาโรคที่เกิดจากการทำงาน, การตรวจความพร้อมในการทำงาน
- การตรวจรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากงานอุตสาหกรรม
- บริการฉีดวัคซีน
- ให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัย, สุขศาสตร์อุตสาหกรรม
- ให้ความรู้ความปลอดภัยในการทำงาน, การปฐมพยาบาล และการให้สุขศึกษาเบื้องต้น
ความพร้อมในการบริการ
มีศักยภาพรองรับการตรวจสุขภาพพนักงานในบริษัท ตามความต้องการขององค์กรด้วยทีมบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อันทันสมัย ซึ่งปัจจุบันมีทีมแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญประมาณ 50 คน มีรถเอกซเรย์ระบบคอมพิวเตอร์ (Digital) ที่ทันสมัย รถตรวจการได้ยิน 6 คัน พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการที่มีระบบการตรวจวิเคราะห์เพื่อประมวลและแสดงผลอย่างถูกต้อง แม่นยำ

การบริการโปรแกรมตรวจสุขภาพต่างๆ ดังนี้
1.การตรวจสุขภาพพื้นฐาน
1.เอกซเรย์ทรวงอก
2.ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ (PE)
3.ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
4.ตรวจปัสสาวะทั่วไป (UA)
2.การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวอนามัย
1.ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (AUDIOGRAM) พร้อมเครื่องตรวจระดับเสียง SOUND LEVEL METER
2.ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด (SPIRO METER)
3.ตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อหลัง
4.ตรวจสายตาอาชีวอนามัย ( Vision Occupational Health )

3.การตรวจเลือด ( Blood Chemistry )
1.ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
2.ตรวจระดับไขมันในเลือด
- Cholesterol
- Triglyceride
- HDL-Cholesterol
- LDL-Cholesterol
3.ตรวจหาโรคไขข้ออักเสบ, โรคเก๊าท์ (URIC ACID)
4.ตรวจการทำงานของไต (BUN, CREATININE)
5.ตรวจการทำงานของตับ (BILIRUBIN, SGOT, SGPT, ALKALINE PHOSPHATASE)

4.การตรวจภูมิคุ้มกันวิทยา (SEROLOGY)
1.ตรวจหาเชื้อโรคกามโรค (VDRL)
2.ตรวจหาเชื้อเอดส์ (ANTI-HIV)
3.ตรวจหาไวรัสตับอักเสบ เอ, บี เช่น HBsAg, HBsAb, Anti-HBC
4.ตรวจหาสารแอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)
5.ตรวจระดับสารต่างๆที่ตกค้างในร่างกาย เช่น โครเมียม, แคดเมียม, อลูมิเนียม, Benzine, Toluene, แอมโมเนีย, ไซยาไนท์, สังกะสี, นิกเกิ้ล, สไตลีน, ยาฆ่าหญ้า, ไซลีน, Methlyl Ethyl Ketone และสารอันตรายอื่นๆ
นอกจากนี้ศูนย์ตรวจสุขภาพอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ ยังให้บริการตรวจเยี่ยมโรงงานเพื่อประเมินความเสี่ยงโดยทีมแพทย์และพยาบาลอาชีวเวชศาสตร์จัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้แก่พนักงานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ พร้อมมีทีมงานให้คำแนะนำ ทั้งก่อนและหลังการตรวจสุขภาพอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและบริการฉีดวัคซีน เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพสามารถทำงานได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัย มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคจากการประกอบอาชีพที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีดังนี้
1.อุบัติภัย / การบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพและการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
2.โรคปอดจากการประกอบอาชีพ รวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น โรคซิลิโคลิส, โรคบิสสิโนสิส และอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ
3.โรคพิษจากสารโลหะหนัก เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคพิษสารหนู ปรอท แมงกานีส
4.โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช
5.โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ
6.ภาวะการได้ยินเสื่อมจากเสียงดัง
7.ภาวะเป็นพิษต่อระบบประสาท
8.โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ
9.โรคหัวใจและหลอดเลือด
10.ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดจากการทำงาน
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ
- เพื่อให้มีโอกาสค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โรคเรื้อรังและโรคที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
- เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
ทีมแพทย์ ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์
เครื่องมือแพทย์และการเตรียมตัวก่อนการรักษา
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
บทความที่เกี่ยวข้อง
คลิปวิดีโอ
เครื่องมือแพทย์และการเตรียมตัวก่อนการรักษา
ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) เป็นอีกหนึ่งแนวทางของการพัฒนาเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐาน และให้ผลที่แม่นยำสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
บทความที่เกี่ยวข้อง
หากปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ หากปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นอาการตับอ่อนอักเสบ
เป็นอาการตอบสนองทางร่างกายต่อสิ่งเร้าที่เกิดกับร่างกายของเรา ถึงแม้เราจะรู้สึกเหมือนกันว่า ปวดหัวก็คือปวดหัว แต่ความจริงแล้วอาการปวดนั้นแตกต่างกันไปทั้งความรู้สึกและความรุนแรง
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของการตรวจสุขภาพไว้ว่า เป็นการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงอันจะส่งผลทำให้สุขภาพเสียไป ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงเน้นที่การตรวจก่อนการเป็นโรค การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องจะทำให้เราได้รู้ว่า “เรายังมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง”
เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อ นิวโมคอกคัส ที่สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคนสู่คน โรคนี้สามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆเพิ่ม ได้ในหลายส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่ที่จะเป็นคือ ปอดอักเสบ และเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่โรคติดเชื้อ IPD นี้สามารถรักษาได้ และมีวัค
ทารก เด็กเล็ก และเด็กโตบางคนรวมทั้งผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพบางประการควรฉีดวัคซีนนิวโมค็อคคัลคองจูเกท(เรียกว่า PV13 หรือ Prevnar13)เพื่อป้องกันโรคปอดบวม
ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้หายใจและการไหลเวียนเลือดกลับมาทำงานอีกครั้งช่วยลดความพิการที่เกิดจากสมองขาดเลือดและออกซิเจนโดยมีขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานดังนี้
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้แต่เราสามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนการดำเนินกิจวัตรประจำวันของเราได้ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ใส่ใจการกินอาหารที่มีประโยชน์และที่สำคัญหมั่นตรวจเช็คสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจสุขภาพประจำปี ก็เหมือนกับการสำรวจสภาพร่างกายของเรา ว่าภายในร่างกายของเรายังแข็งแรงอยู่หรือไม่
แมมโมแกรม คือ การถ่ายเอกซเรย์เต้านมทั้ง 2 ข้าง ตามปกติจะทำ 2 ท่า คือถ่ายเต้านมด้านตรง ( Craniocaudal view - CC ) และแนวเอียง ( MLO )
เป็นโรคที่เกิดอาการเฉพาะฤดู ส่วนมากมักพบในฤดูหนาว ฤดูฝน (Seasonal allergic rhinitis) โรคนี้ที่มีอาการตลอดทั้งปี (Perennial allergic rhinitis) พบได้กับทุกเชื้อชาติและทุกวัย ในวัยเด็กมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
อาการที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดหัวใจ พบอาการเช่นเดียวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตายเพราะขาดเลือด (เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน)
โรคติดต่อที่ไร้วัคซีนป้องกัน ภัยเงียบจากยุงลาย สามารถแพร่เชื้อช่องทางหลักโดยยุงลายที่มีเชื้อ และไปกัดคน และช่องทางอื่นๆ ที่เป็นไปได้ เช่น แพร่ผ่านทางเลือด แพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ และเพศสัมพันธ์ (โอกาสเกิดได้น้อย)
เนื่องจาก EECP ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของสุขภาพดี และประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ ดังนั้น EECP จึงมีผลดีต่อการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยใดๆ ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการได้ยิน
เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ คือ เนื่องจากมันไม่มีอาการใดๆ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” ก็ต่อเมื่อมีกระดูกหักหลังจากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกบันได ตกจากเก้าอี้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีการ
เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ได้มีการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) พบใน ยุงลาย (Aedes Aegypti) โดยเชื้อจะอาศัยอยู่ในบริเวณผนังกระเพราะและต่อมน้ำลายในยุง
ตุลาคม เดือนแห่งการรณรงค์ "ต้านมะเร็งเต้านม"
หากคุณอาศัยอยู่ใน Rhode Island และลูก ๆ ของคุณไปที่โรงเรียนรัฐบาล พวกเขาจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัส ชนิดที่เรียกว่า ไวรัส HPV
สอบถามข้อมูลและเข้ารับบริการที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
88/8-9 ถนนเทพารักษ์ กม.14.5 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 02-033-2900